สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.ด้านกายภาพ
1.1 ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส
จากการสืบค้นประวัติความเป็นมาของตำบลหนองน้ำใส โดยการสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นประชาชนชาวบ้าน และจากหนังสือต่าง ๆที่มีผู้จดบันทึกเอาไว้ พอสรุปได้ว่า บ้านหนองน้ำใสก่อนจะได้ยกฐานะเป็นที่ตั้งตำบลดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นประชาชนชาวบ้านบอกว่าบริเวณที่บ้านหนองน้ำใส ตั้งอยู่นี้ ยังเป็นโคก เป็นป่าทึบอยู่ยังไม่มีผู้คนมาสร้างบ้านเลย มาในระหว่าง พ.ศ.2425 – 2430 ได้เกิดโรคระบาดขึ้นที่บ้านแคนใต้มีผู้คนล้มตายลงเป็นอันมากเป็นเหตุให้ผู้คนอพยพหนีโรคระบาด มาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ ๆ หนองน้ำแห่งหนึ่งซึ่งมีน้ำใสสะอาดอยู่ตลอดปี ครอบครัวที่อพยพหนีมามีครอบครัว นายรัง ชูวัตร, นายแดงสันเพิก, นายธิน นายพุก (ไม่ทราบนามสกุล) ต่อมาก็ได้มีครอบครัวอื่นๆ อพยพตามมาอยู่ด้วย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นหมู่บ้านเมื่อโรคระบาดสงบลงแล้วก็ไม่มีใครอพยพกลับคืนไปอยู่ที่บ้านแคนใต้อีก มาใน พ.ศ. 2436 ก็ได้ประกาศยกฐานะให้เป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องและตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองน้ำใส” ตามลักษณะของหนองน้ำ แล้วบ้านหนองน้ำใสก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ จนมาถึง พ.ศ.2526 ได้มีการแบ่งแยกหมู่บ้านต่างๆ ออกจากตำบลแคนเหนือ 11 หมู่บ้าน มาตั้งเป็นตำบลใหม่ขึ้นมาโดยเลือกเอาบ้านหนองน้ำใส เป็นที่ตั้งของตำบลเพราะเป็นหมู่บ้านใหญ่ ไป-มา สะดวกมีความเหมาะสมกว่าหมู่บ้านอื่นๆ ในเขตเดียวกัน และในปี 2548 ได้แบ่งแยกหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 12 บ้านหนองน้ำใส (ใสวารี) รวมเป็นทั้งหมด 12 หมู่บ้าน
ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ได้ยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง
คำขวัญประจำตำบลหนองน้ำใส
“หนองน้ำใสคนใจงาม ลือนามประเพณีหลากหลาย
สิมเก่าวัดแคนใต้ มากมายแหล่งศึกษา
ธรรมชาติล้ำค่าหนองแปน ดินแดนแหล่งอารยธรรม”
1.2 ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ตั้งอยู่ทางทิศใต้อำเภอบ้านไผ่ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 4 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับ อบต.ต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่และ เทศบาลตำบลในเมือง
ทิศใต้ ติดต่อเขต อบต.บ้านหัน
ทิศตะวันออก ติดต่อเขต อบต.หินตั้งและ อบต.แคนเหนือ
ทิศตะวันตก ติดต่อเขต อบต.หัวหนอง ทต.ในเมือง และ อบต.โนนศิลา
1.3 เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส มีเนื้อที่ประมาณ 13,125 ไร่ หรือประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร
1.4 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะรูปร่างขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส มีรูปร่างเป็นแนวยาวจากทิศเหนือมาทางใต้ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ตัดผ่านทางตอนเหนือของตำบลในแนวตะวันตก-ตะวันออก (ผ่านหมู่ที่ 1,8,9 ตามลำดับ) และถนนเร่งรัดพัฒนาชนบท ( รพช.)หนองน้ำใส –แคนเหนือ ตัดผ่านทางตะวันออกของตำบลในแนวเหนือ-ใต้ (ผ่านหมู่ที่ 1,2 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่านทางตะวันตกของตำบล
1.5ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็นบ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35– 39.9 องศาเซลเซียสร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1– 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใสไม่เคยเกิดอุทกภัยรุนแรง มีฝนตกเฉลี่ยประมาณ 900 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1–2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศา
1.6 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ 85% ดินลูกรังประมาณ 10% และดินเค็มประมาณ 5 %
1.7 ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค – บริโภค ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
1.8 ป่าไม้ เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส มีทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เป็นป่าสาธารณะ 520ไร่รวมทั้งมีต้นไม้ที่ประชาชนปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
2.ด้านการเมืองการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ได้จัดตั้งหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีทั้งหมด12 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน 10 คนประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อ จัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2556 ประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง จำนวน ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น 3,810คนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น4,736คน คิดเป็นร้อยละ80.45
ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้น มีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดโครงการอบรมศึกษาดูงานของคณะผู้บริหารสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลอสม. และโครงการอื่น ๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ อีกทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนให้มากที่สุด
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใสได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีเนื้อที่ประมาณ 13,125 ไร่ หรือประมาณ 21 ตารางกิโลเมตรและมีพื้นที่ติดต่อกับตำบลต่าง ๆดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่และ เทศบาลตำบลในเมือง
ทิศใต้ ติดต่อเขต อบต.บ้านหัน
ทิศตะวันออก ติดต่อเขต อบต.หินตั้งและ อบต.แคนเหนือ
ทิศตะวันตก ติดต่อเขต อบต.หัวหนอง ทต.ในเมือง และ อบต.โนนศิลา
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใสแบ่งเขตการปกครองดังนี้
ตำบลหนองน้ำใส แบ่งการปกครองออกเป็น12หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใสทั้ง12หมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านหนองน้ำใส
หมู่ที่ 2 บ้านสำโรง
หมู่ที่ 3 บ้านแคนใต้
หมู่ที่ 4 บ้านเหมือดแอ่
หมู่ที่ 5 บ้านเก่าหัวนา
หมู่ที่ 6 บ้านหนองตอกเกี้ย
หมู่ที่ 7 บ้านนาโน
หมู่ที่ 8 บ้านหนองนกเขียน
หมู่ที่ 9 บ้านหลักกิโลเมตร 16
หมู่ที่ 10 บ้านโนนสะอาด
หมู่ที่ 11 บ้านโนนสวรรค์
หมู่ที่ 12 บ้านหนองน้ำใส
2.2 การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ได้แบ่งเขตการเลือกตั้งทั้งตำบลหนองน้ำใส เป็น 12 เขตเลือกตั้ง ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 บ้านหนองน้ำใส หมู่ที่ 1
เขตเลือกตั้งที่ 2 บ้านสำโรง หมู่ที่ 2
เขตเลือกตั้งที่ 3 บ้านแคนใต้ หมู่ที่ 3
เขตเลือกตั้งที่ 4 บ้านเหมือดแอ่ หมู่ที่ 4
เขตเลือกตั้งที่ 5 บ้านหัวนา หมู่ที่ 5
เขตเลือกตั้งที่ 6 บ้านหนองตอกเกี้ย หมู่ที่ 6
เขตเลือกตั้งที่ 7 บ้านนาโน หมู่ที่ 7
เขตเลือกตั้งที่ 8 บ้านหนองนกเขียน หมู่ที่ 8
เขตเลือกตั้งที่ 9 บ้านกม.16 หมู่ที่ 9
เขตเลือกตั้งที่ 10 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 10
เขตเลือกตั้งที่ 11 บ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 11
เขตเลือกตั้งที่ 12 บ้านหนองน้ำใส หมู่ที่ 12
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใสส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงานการช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบล เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556)
– จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 4,736 คน
– จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556)
– จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 3,810 คน คิดเป็นร้อยละ 80.45
3. ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
หมู่ที่ | บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | ครัวเรือน |
1 | หนองน้ำใส | 305 | 317 | 622 | 207 |
2 | สำโรง | 391 | 400 | 791 | 235 |
3 | แคนใต้ | 204 | 209 | 413 | 114 |
4 | เหมือดแอ่ | 266 | 286 | 552 | 136 |
5 | หัวนา | 229 | 217 | 446 | 122 |
6 | หนองตอกเกี้ย | 348 | 364 | 712 | 162 |
7 | นาโน | 297 | 291 | 588 | 158 |
8 | หนองนกเขียน | 316 | 308 | 624 | 217 |
9 | กม.16 | 183 | 169 | 352 | 117 |
หมู่ที่ | บ้าน | ชาย | หญิง | รวม | ครัวเรือน |
10 | โนนสะอาด | 167 | 167 | 334 | 76 |
11 | โนนสวรรค์ | 263 | 229 | 492 | 136 |
12 | หนองน้ำใส | 304 | 290 | 594 | 214 |
รวมทั้งสิ้น | 3,273 | 3,247 | 6,520 | 1,894 |
หมายเหตุ ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง การตรวจสอบบ้านจากทะเบียนบ้าน
ข้อมูลของวันที่ 30 พฤษภาคม 2562
4.สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านหนองน้ำใส หมู่ที่ 1 บ้านหนองน้ำใส
- โรงเรียนไตรมิตรประชาบำรุง หมู่ที่ 3 บ้านแคนใต้
- โรงเรียนหนองตอกเกี้ยหัวนาประชาสรรค์ หมู่ที่ 6 บ้านหนองตอกเกี้ย
- โรงเรียนเก่านาโนมีวิทยา หมู่ที่ 7 บ้านนาโน
โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง ได้แก่
- โรงเรียนบ้านไผ่พิทยาคม
วิทยาลัยอาชีวศึกษา 1 แห่ง ได้แก่
- วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง ได้แก่
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส
ในพื้นที่มีการศึกษานอกระบบ(กศน.หนองน้ำใส) 1 แห่ง
4.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำหมู่บ้าน/ตำบล 2 แห่ง ได้แก่
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองน้ำใส หมู่ที่ 3 มีเจ้าหน้าที่ 4 คน
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโน หมู่ที่ 7 มีเจ้าหน้าที่ 3 คน
5.ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมติดต่อกับอำเภอบ้านไผ่ ตำบลหนองน้ำใสมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลโดยมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 อยู่ทางทิศเหนือของตำบล
– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 อยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล
การติดต่อคมนาคมภายในตำบลและตำบลใกล้เคียง มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
– ถนนมิตรภาพ ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ใน ม.1 , ม.8, ม.9
– ถนนลาดยาง ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ใน ม.7 ติดต่อกับ ม.5 , ม.6 ม.4 และ ม.3
5.2 การไฟฟ้า
มีระบบไฟฟ้าครบทุกหมู่บ้าน จำนวน 1,894 ครัวเรือน
5.3 การประปา
มีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3,4,5,6,7,9,10,11
ใช้ระบบประปาส่วนภูมิภาค จำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,2,3,4,8,9,12
5.4 โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ ทำนาปีละ 1 ครั้ง หลังฤดูทำนาจะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง พืชผักสวนครัว
6.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
โรงแรม 4 แห่ง
ร้านค้า 60 แห่ง
โรงสี 16 แห่ง
ปั้มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
ประชากรส่วนใหญ่ ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ ทำนาปีละ 1 ครั้ง หลังฤดูทำนาจะปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง พืชผักสวนครัว
8.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด 5 แห่ง ได้แก่
– วัดสว่างชัยศรี / เมรุเผาศพ หมู่ที่ 1 บ้านหนองน้ำใส
– วัดโนนทอง / เมรุเผาศพ หมู่ที่ 3 บ้านแคนใต้
– วัดโพธิ์ชัย / เมรุเผาศพ หมู่ที่ 5 บ้านหัวนา
– วัดกู่แก้วมิ่งมงคล หมู่ที่ 8 บ้านหนองนกเขียน
– วัดป่าบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 11 บ้านโนนสวรรค์
สำนักสงฆ์ 9 แห่ง ได้แก่
– วัดป่าโสภาการาม /เมรุเผาศพ หมู่ที่ 2 บ้านสำโรง
– วัดบูรพาราม หมู่ที่ 2 บ้านสำโรง
– วัดเจ้าปู่หนองแปน หมู่ที่ 4 บ้านเหมือดแอ่
– วัดสว่างโนนชัย หมู่ที่ 6 บ้านหนองตอกเกี้ย
– วัดโพธิ์ตาก หมู่ที่ 7 บ้านนาโน
– วัดบ้านหนองนกเขียน หมู่ที่ 8 บ้านหนองนกเขียน
– วัดกม.16 / เมรุเผาศพ หมู่ที่ 9 บ้านกม.16
– วัดบ้านโนนสะอาด/ เมรุเผาศพ หมู่ที่ 10 บ้านโนนสะอาด
– วัดป่าสงบสุข หมู่ที่ 11 บ้านโนนสวรรค์
ฌาปนสถาน 3 แห่ง ได้แก่
– เมรุเผาศพ หมู่ที่ 6 บ้านหนองตอกเกี้ย
– เมรุเผาศพ หมู่ที่ 7 บ้านนาโน
– เมรุเผาศพ หมู่ที่ 9 บ้าน กม.16
มัสยิด/โบสถ์/ศาลเจ้า 3 แห่ง ได้แก่
– โบสถ์วัดสว่างชัยศรี หมู่ที่ 1 บ้านหนองน้ำใส
– โบสถ์วัดโนนทอง หมู่ที่ 3 บ้านแคนใต้
– โบสถ์วัดโพธิ์ชัย หมู่ที่ 5 บ้านหัวนา
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
ช่วงเดือนมกราคม งานประเพณีบุญคูณลาน/บุญกุ้มข้าวใหญ่และของดีอำเภอบ้านไผ่
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ งานประเพณีบุญข้าวจี่
ช่วงเดือนมีนาคม งานประเพณีบุญผะเหวด
ช่วงเดือนเมษายน งานประเพณีวันสงกรานต์และสรงน้ำผู้สูงอายุ
ช่วงเดือนพฤษภาคม งานประเพณีบุญเดือนหก(บุญบั้งไฟ)
ช่วงเดือนมิถุนายน งานประเพณีบุญซำฮะ
ช่วงเดือนกรกฎาคม งานประเพณีบุญเข้าพรรษา
ช่วงเดือนสิงหาคม งานประเพณีข้าวประดับดิน
ช่วงเดือนกันยายน งานประเพณีบุญทอดเทียนโฮม/บุญข้าวสาก
ช่วงเดือนตุลาคม งานประเพณีบุญออกพรรษา
ช่วงเดือนพฤศจิกายน งานประเพณีบุญกฐิน
ช่วงเดือนธันวาคม งานประเพณีบุญเข้ากรรม
9.ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1แหล่งน้ำ
1) แหล่งน้ำธรรมชาติ
ลำห้วย
– ลำห้วยกุดแคน ไหลผ่าน ม.2 , ม. 3 , ม.4
– ลำห้วยวังขอนขาว ไหลผ่าน ม.4
– ลำห้วยวังขอนแดง ไหลผ่าน ม.6
– ลำห้วยโสกชาติ ไหลผ่าน ม.7
– ลำห้วยเตาเหล็ก ไหลผ่าน ม.7
– ลำห้วยสิม/หมากแดง ไหลผ่าน ม.1,12
บึง / หนอง
– หนองน้ำใส ม.1 พื้นที่ประมาณ 4 ไร่
– หนองบ่อ ม.1 พื้นที่ประมาณ 54 ไร่
– หนองท่าเลิงสาธารณะประโยชน์ ม.3(ขก609) พื้นที่ 3งาน 87 ตารางวา
– หนองมน ม.3 พื้นที่ประมาณ 2 ไร่
– หนองแปนน้อยสาธารณะประโยชน์ ม.4(ขก2459)พื้นที่ 10ไร่ 2งาน 43 ตารางวา
– หนองบ้านเก่า ม.5 พื้นที่ประมาณ 12 ไร่
– หนองกกโพธิ์ ม.5 พื้นที่ประมาณ 1 ไร่
– หนองแดงสาธารณประโยชน์ (ขก2489)พื้นที่ 20ไร่ 1งาน 20 ตารางวา
2) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ฝายน้ำล้น
– ฝาย มข. ม.2 จำนวน 1 แห่ง
– ฝายกุดแคน ม.3 จำนวน 1 แห่ง
– ฝาย มข. ม.4 จำนวน 1 แห่ง
– ฝายวังขอนแดง ม.4 จำนวน 1 แห่ง
– ฝาย มข. ม.6 จำนวน 3 แห่ง
ถนนน้ำล้น
– ถนนน้ำล้นผ่านลำห้วยกุดแคน ม.2
– ถนนน้ำล้นผ่านลำห้วยวังขอนขาว ม.4
– ถนนน้ำล้นผ่านลำห้วยวังขอนแดง ม.6
สระน้ำ
– สระน้ำวัดสว่างชัยศรี ม.1 พื้นที่ประมาณ 4 ไร่
– สระน้ำสาธารณะประโยชน์ ม.2 พื้นที่ประมาณ 3 ไร่
– สระเลิงทุ่มสาธารณะประโยชน์ ม.3(ขก606)พื้นที่ 4ไร่ 2งาน 15 ตารางวา
– สระห้วยหนองแปนสาธารณะประโยชน์ม. 4(ขก2455)พื้นที่ 25ไร่ 2งาน 3 ตารางวา
– สระโครงการอีสานเขียว ม. 4 พื้นที่ประมาณ 2 ไร่
– สระวัดโพธิ์ชัยบ้านเก่า ม.5 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระบ้านเก่าใหญ่สาธารณะประโยชน์ม.5 (ขก2458) พื้นที่ 6ไร่ 3งาน81 ตารางวา
– สระคุ้มหัวนา ม.5 พื้นที่ประมาณ 1 ไร่
– สระสาธารณะประโยชน์ม. 5(ขก2457) พื้นที่ 17ไร่ 2งาน 63 ตารางวา
– สระหนองไผ่ล้อมสาธารณะประโยชน์ ม.6 (ขก2451)พื้นที่ 3ไร่ 78 ตารางวา
– สระวัด ม.7 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระวัด ม.8 พื้นที่ประมาณ 1.5 งาน
– สระน้ำวัด กม.16 ม.9 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระวัด ม.10 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระน้ำหนองทุ่งมน ม.11 พื้นที่ประมาณ 2 งาน
– สระใหม่ ม.11 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระหนองแก ม.11 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระวัด ม.11 พื้นที่ประมาณ 1 งาน
– สระวัด ม.11 พื้นที่ประมาณ 2 งาน
– สระวัด เก่า ม.12 พื้นที่ประมาณ 5 ไร่
9.2 พื้นที่ป่า
– ป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.2(ขก3630) พื้นที่ 5 ไร่ 3 งาน 32 5/10 ตารางวา
– ป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.2(ขก2062) พื้นที่ 99 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา
– ป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.2(ขก1838) พื้นที่ 50 ไร่ 2 งาน 97ตารางวา
– โนนเสือเขี้ยวสาธารณะประโยชน์ ม.3(ขก604) พื้นที่ 10 ไร่ 2 งาน 35 ตารางวา
– โนนศาลาสาธารณะประโยชน์ ม.3(ขก2469) พื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา
– โคกป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.4(ขก2494) พื้นที่ 58 ไร่ 3 งาน 31 ตารางวา
– ดอนกลางสาธารณะประโยชน์ ม.4(ขก2454) พื้นที่ 1 ไร่1งาน 75 ตารางวา
– ป่าช้าแป้งสาธารณะประโยชน์ ม.4(ขก2482) พื้นที่ 16 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา
– ดอนปู่ตาสาธารณะประโยชน์ ม.4(ขก2493) พื้นที่ 45ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา
– ที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะประโยชน์ ม.5(ขก2488) พื้นที่ 5 ไร่ 47 ตารางวา
– ที่ดินปู่ตาสาธารณะประโยชน์ ม.5(ขก2490) พื้นที่ 20 ไร่ 2 งาน 87 ตารางวา
– ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะประโยชน์ ม.5 (ขก2491)พื้นที่ 82 ไร่ 75 ตารางวา
– ป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.6 (ขก596) พื้นที่ 71 ไร่ 90 ตารางวา
– ป่าช้าสัตว์สาธารณะประโยชน์ ม.6(ขก2452) พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา
– ดอนปู่ตาสาธารณะประโยชน์ ม.6(ขก604) พื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา
– ป่าช้าสาธารณะประโยชน์ ม.7(ขก2456) พื้นที่ 15 ไร่ 95 ตารางวา
– โนนผักแว่นสาธารณะประโยชน์ ม.7(ขก2063) พื้นที่ 1 งาน 80 ตารางวา
– ที่บ้านโนนสวรรค์สาธารณะประโยชน์ ม.10 (ขก2475) พื้นที่ 12 ไร่2งาน 12 ตารางวา
– โนนสะอาดสาธารณะประโยชน์ ม.10(ขก2480) พื้นที่ 15 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา
หมายเหตุ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีเลขที่ นสล.ขก. อ้างอิงข้อมูลจากสำนักที่ดินจังหวัดขอนแก่น ตามหนังสือที่ ขก0020.4/30914 ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2558
10.ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
10.1 ศักยภาพของ อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ได้กำหนดกรอบอัตรากำลังและส่วนราชการต่าง ๆ ดังนี้
1.1) ส่วนราชการในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้บังคับบัญชา และเป็นผู้รับ ผิดชอบงานทั่วไปโดยมีหัวหน้าส่วนต่าง ๆ มีจำนวน 4 ส่วน และมีจำนวนบุคลากรทั้งหมด จำนวน 35 คนดังนี้
นางปริญดา สิงห์มี ปลัด อบต.หนองน้ำใส
นายศุภชัย อุทัยดา รองปลัด อบต.หนองน้ำใส
ตำแหน่งในสำนักงานปลัด จำนวน 19 คน แยกเป็น
– พนักงานส่วนตำบล 6 คน
– พนักงานจ้างตามภารกิจ 4 คน
– พนักงานจ้างทั่วไป 3 คน
– พนักงานจ้างเหมา 6 คน
ตำแหน่งในกองคลัง จำนวน 7 คน แยกเป็น
– พนักงานส่วนตำบล 2 คน
– พนักงานจ้างตามภารกิจ 2 คน
– พนักงานจ้างเหมา 3 คน
ตำแหน่งในกองช่าง จำนวน 5 คน แยกเป็น
– พนักงานส่วนตำบล 2 คน
– พนักงานจ้างตามภารกิจ 3 คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษา จำนวน 8 คน แยกเป็น
– พนักงานส่วนตำบล 2 คน
– พนักงานครู อบต. 1 คน
– พนักงานจ้าง ตามภารกิจ 2 คน
– พนักงานจ้างเหมา 2 คน
ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส มีพนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป และพนักงานจ้างเหมา จำนวน 38 คน แยกได้ดังนี้
นางปริญดา สิงห์มี ตำแหน่ง ปลัด อบต.หนองน้ำใส
นายศุภชัย อุทัยดา ตำแหน่ง รองปลัด อบต.หนองน้ำใส
งานตรวจสอบภายใน
สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
- นางคนึงรักษ์ สุขสนิท ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักปลัด
- นางสุคนธ์ ศรีนาง ตำแหน่ง นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ
- นายผดุง สุดหอม ตำแหน่ง นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
- พ.จ.ต.รังสรรค์ ดีแป้น ตำแหน่ง จพง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติงาน
- พ.อ.อ.ฉัตรชัย สาร์ตนอก ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
- นางสาวปณิตา ศิลาชัย ตำแหน่ง นิติกร
- นางสิริยา ธาตุดี ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สุขาภิบาล
- นางสาวสถาภรณ์ สุดน้อย ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นางสาวจริยา อุ่นทานนท์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นางสาวเกษร สันเพชร ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน
- นายสุนิตย์ หวานชุม ตำแหน่ง คนงาน
- นางคำพรรณ หวานชุม ตำแหน่ง นักการ
- นายวาเศษฐี หวานขม ตำแหน่ง พนักงานขับรถยนต์
- นางสาวนภัสวรรณ ปิ่นคำ ตำแหน่ง จ้างเหมางานเคราะห์นโยบายและแผน
- นายประยุทธ ศรีนาง ตำแหน่ง จ้างเหมาขับรถยนต์
- นายพุฒ ศิริเกตุ ตำแหน่ง จ้างเหมาจัดเก็บขยะมูลฝอย
- นายดอกจันทร์ ริมโพธิ์ ตำแหน่ง จ้างเหมาจัดเก็บขยะมูลฝอย
- นายเกษม ใจยะ ตำแหน่ง จ้างเหมาจัดเก็บขยะมูลฝอย
- นายเกรียงไกร ศรีนาง ตำแหน่ง จ้างเหมาจัดเก็บขยะมูลฝอย
กองคลัง
- นางเอมอร ศิริงาม ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
- นางสาวนรินทร์ทิพย์ แก่นสวรรค์ ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
- นางสาวบุตสกร สมอหมอบ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นางสาวเมย์วดี ลิ้นทอง ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้
- นางสาวจุฑามาศ ราชมี ตำแหน่ง จ้างเหมางานพัสดุ
- นางสาวสิริลักษณ์ กองคำ ตำแหน่ง จ้างเหมางานบัญชีและการเงิน
- นางสาวสุรีรัตน์ ฤทธิคำ ตำแหน่ง จ้างเหมางานจัดเก็บรายได้
กองช่าง
- นายปิยะวัฒน์ พรนรากุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองช่าง
- นายมานพแสงแพง ตำแหน่ง นายช่างโยธาอาวุโส
- นางสาวดารุณี ทีเหล็ก ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นางสาวหยาดพิรุณ เวียงอินทร์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นายรัชภูมิ หมื่นสา ตำแหน่ง ผู้ช่วยนายช่างไฟฟ้า
กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
- นางรัชนีวรรณ แสงยศ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนาฯ
- นางสาวสุภา แสนโคตร ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
- นางสาวนันทวรรณ ขันทะ ตำแหน่ง ครู ค.ศ.1
- นางเบญญาภา เกียรติปกรณ์ ตำแหน่ง ผู้ดูแลเด็ก
- นางสาวฉวีวรรณ หวานจริง ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
- นางสาววรรณภา บันเล็งลอย ตำแหน่ง จ้างเหมาดูแลเด็ก
- นางสาวสัมฤทธิ์ พลหล้า ตำแหน่ง จ้างเหมาทำความสะอาด
1.2) ระดับการศึกษาของบุคลากร
-ระดับประถมศึกษา 1 คน
-ระดับมัธยมศึกษา 10 คน
-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1 คน
-ระดับอาชีวศึกษา – คน
-ระดับปริญญาตรี 16 คน
-ระดับปริญญาโท 11 คน
1.3) รายได้ของ อบต.
ประจำปีงบประมาณ 2561 จำนวน 34,561,180.53 บาท แยกเป็น
-รายได้ที่ อบต.จัดเก็บเอง จำนวน 465,589.24 บาท
-รายได้ที่ ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 19,241,774.69 บาท
-เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 14,853,816.00 บาท
-เงินอุดหนุนที่รัฐบาลให้โดยระบุวัตถุประสงค์ – บาท